กิจกรรมเพื่อส่งเสริมความมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย

สิทธิทางวัฒธรรมและกลุ่มชาติพันธุ์ในจังหวัดมุกดาหาร

27 ตุลาคม 2554
การประชุมเสวนานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเชิญชวนผู้เข้าร่วมประชุมให้คิดและพูดคุยเกี่ยวกับสิทธิในการรักษาวัฒนธรรมของตน สิทธิในการได้รับการยอมรับ และความภูมิใจในอัตลักษณ์ของตน นอกจากนี้ยังสนับสนุนให้ผู้แทนจากกลุ่มชาติพันธุ์ในจังหวัดมุกดาหารที่ได้เข้าร่วมในโครงการสำนักวัฒธรรมจังหวัดได้พัฒนาและส่งเสริมความหลากหลายทางวัฒนธรรมในมุกดาหาร การประชุมนี้ยังเปิดโอกาสให้กลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆได้เรียนรู้เกี่ยวกับกิจกรรมและโครงการที่พัฒนาขึ้นในมุกดาหารและจังหวัดใกล้เคียง และเพื่อสร้างเครือข่ายทางชาติพันธุ์

อ่านต่อ

โครงการบันทึกศิลปะการดนตรีกันตรึม

ธันวาคม 2554 – เมษายน 2555
โครงการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเก็บบันทึกข้อมูลเกี่ยวกับมรดกทางวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ของกลุ่มผู้ใช้ภาษาเขมรในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย โดยเฉพาะอย่างยิ่งจังหวัดบุรีรัมย์ สุรินทร์ และศรีสะเกษ เป็นการบันทึกศิลปะการดนตรีดั้งเดิมที่เรียกว่ากันตรึม ซึ่งกำลังจะถูกลบเลือนและสูญหายไปตามการเวลา นอกจากจะเก็บบันทึกการแสดงโดยนักร้องเพลงกันตรึมแล้ว โครงการยังได้สัมภาษณ์นักดนตรีเกี่ยวกับแนวคิด ปรัชญา ความเชื่อ และประวัติส่วนตัว รวมทั้งเก็บข้อมูลเกี่ยวกับเครื่องดนตรีด้วย

อ่านต่อ

การมีส่วนร่วมของชุมชนในการปกป้องคุ้มครองความหมายที่จับต้องไม่ได้และคุณค่าของโบราณสถานในอุทยานประวัติศาสตร์พนมรุ้ง

27-28 กุมภาพันธ์ 2555
เวทีสาธารณะนี้จัดขึ้นเพื่อสร้างพื้นที่สำหรับการอภิปรายสาธารณะเกี่ยวกับความหมายและคุณค่าของโบราณสถานให้กับผู้อาศัยอยู่ในชุมชนท้องถิ่นในอุทยานประวัติศาสตร์พนมรุ้ง เวทีนี้เชิญชวนผู้ที่อาศัยอยู่ในชุมชนท้องถิ่นมาร่วมแบ่งปันความเชื่อ ความทรงจำ เรื่องเล่าและการปฏิบัติที่เกี่ยวข้องกับโบราณสถาน และหารือเกี่ยวกับแนวทางที่เป็นไปได้ในการปกป้องคุ้มครองความเชื่อและความหมายเหล่านี้เพื่อคนรุ่นหลัง ชุมชนท้องถิ่นได้ร่วมในกิจกรรมจัดทำแผนที่ทางวัฒนธรรมเพื่อบันทึกสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ในพื้นที่

อ่านต่อ

เสวนาสัญจรจังหวัดภูเก็ต

23 พฤษภาคม 2555
โครงการสิทธิกับวัฒนธรรมร่วมกับดร. นฤมล หิญชีระนันทน์ จากสถาบันวิจัยสังคม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยและหัวหน้าโครงการนำร่องอันดามันได้จัดทำเวทีเสวนาสัญจรขึ้นที่จังหวัดภูเก็ต เพื่อนำเสนอผลงานวิจัยของโครงการสิทธิกับวัฒนธรรมและร่วมแลกเปลี่ยนข้อคิดเห็นระหว่างนักวิจัยของโครงการ นักวิชาการ ผู้แทนจากชุมชน และบุคลากรผู้ปฏิบัติงานทางด้านวัฒนธรรมในพื้นที่จังหวัดผู้เก็ตทั้งภาครัฐและเอกชน เพื่อหารือในประเด็นเรื่องสิทธิกับวัฒนธรรมที่เกิดขึ้นและผลกระทบต่อประชาชนในจังหวัดภูเก็ต อันจะนำไปสู่การสร้างความรู้ความเข้าใจที่ดีขึ้นในการแก้ปัญหาเชิงนโยบายในจังหวัดภูเก็ตและภูมิภาคอื่นในประเทศไทย

อ่านต่อ

Comments are closed.