สิทธิทางวัฒนธรรมสำหรับองค์กรทางวัฒนธรรม: มโนทัศน์และกรณีศึกษา

ดร. เชลี แบร์รี, ที่ปรึกษาอาวุโส, ประชุมฟอรั่มสิทธิทางวัฒนธรรม

ชื่อการประชุมฟอรั่ม “สิทธิทางวัฒนธรรมสำหรับองค์กรทางวัฒนธรรม: มโนทัศน์และกรณีศึกษา”

เป้าหมายหลักของการประชุมฟอรั่ม

  • เป้าหมายแรกคือการแนะนำมโนทัศน์หลักเกี่ยวกับสิทธิทางวัฒนธรรมในมุมมองที่กว้างโดยเน้น แนวทางที่สิทธิทางวัฒนธรรมจะสามารถช่วยพัฒนางานของสถาบันทางวัฒนธรรม (เช่น ศมศ.) ในการบรรลุจุดประสงค์ดังนี้ เราได้ขอให้ผู้มีส่วนร่วมอ่านบทความวิชาการทั้งชิ้น (หรือสรุปย่อบทความเหล่านี้) ได้ที่จะชี้ให้เห็นข้อถกเถียงหลักระหว่างนักวิชาการและผู้ทำงานด้านสิทธิทางวัฒนธรรม ประเด็นหลักจากบทความเหล่านี้จะได้รับการเน้นย้ำเมื่อมีการแจกจ่ายบทความเหล่านี้ให้อ่าน (ตัวอย่างเช่น จะมีการไฮไลท์หรือขีดเส้นใต้ส่วนที่เน้นของบทความเหล่านี้) หรือในช่วงแรกของการประชุมฟอรั่ม
  • เป้าหมายหลักประการที่สองคือการเพิ่มทักษะของบุคลากรภายในศูนย์ ซึ่งรวมไปถึงการวิจัย และ การออกแบบและพัฒนาโครงการ
  • เป้าหมายที่สามคือการพิจารณาว่าแนวความคิดเกี่ยวกับสิทธิทางวัฒนธรรมจะสามารถรวมเข้ากับโครงการอื่นๆ ที่ดำเนินการอยู่ที่ศูนย์ได้อย่างไร เป้าหมายนี้เชื่อมโยงกับเป้าหมายแรกและเป้าหมายที่สอง นอกเหนือจากการอ่านงานหลักแล้ว เรายังพัฒนากิจกรรมต่างๆ ในการประชุมเพื่อบุกเบิกและสะท้อนประเด็นเกี่ยวกับสิทธิทางวัฒนธรรมต่างๆ ที่เชื่อมโยงอยู่กับโครงการอื่นๆ ที่กำลังดำเนินอยู่ที่ศมศ. ด้วย

เมื่อการประชุมฟอรั่มเป็นไปตามเป้าหมายเหล่านี้ เราก็หวังให้การประชุมฟอรั่มสิทธิทางวัฒนธรรมจะกระตุ้นให้บุคลากรของ ศมศ. ได้ขบคิดในประเด็นเกี่ยวกับสิทธิทางวัฒนธรรมว่าจะใช้แนวคิดเกี่ยวกับสิทธิเหล่านี้อย่างไรเพื่อจะบรรลุเป้าหมายระยะยาวของทางศูนย์

ประเด็นต่างๆ ในการประชุมฟอรั่มสิทธิทางวัฒนธรรมได้รับการออกแบบมาตลอดปีเพื่อที่จะให้ครอบคลุมกรณีและประเด็นต่างๆ เพื่อที่จะให้ผู้คนจากแผนกต่างๆ ของ ศมศ. มองเห็นประเด็นที่ความเกี่ยวกันระหว่างโครงการต่างๆ โครงการเหล่านี้รวมไปถึง โครงการพหุวัฒนธรรมนิยม มานุษยวิทยาในชุมชน มานุษยวิทยาสาธารณะ ความรู้เชิงวัฒนธรรม การพัฒนาและการบริหารจดหมายเหตุและฐานข้อมูล

โครงการประชุมฟอรั่มไม่ได้เพียงแค่มุ่งไปที่โครงการใน ศมศ. ที่เน้นทำจดหมายเหตุและมรดกดิจิทัลเท่านั้น แต่ยังมุ่งไปที่โครงการที่ทำงานกับชุมชนโดยตรงและโครงการวิจัยที่มุ่งสร้างฐานความรู้เพื่อเพิ่มความเข้มแข็งให้กับความแตกต่างหลากหลายและเพื่อให้สาธารณะชนเข้าถึงความรู้ได้ด้วย

Comments are closed.